เป็นรูปที่มีทุกบ้าน

เป็นรูปที่มีทุกบ้าน
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ของชาติไทย

Princess Chulabhorn's College Chonburi

น้ำเงิน - แสด

ประมวลรายวิชา ( Course Syllabus )

๑. รหัสวิชา ท ๒๓๑๐๑
๒. ชื่อวิชา ภาษาไทย ๕
๓. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓
๔. จำนวนหน่วยการเรียนรู้ ๑.๕
๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
๖. ปีการศึกษา ๒๕๕๔
๗. ชื่อครูผู้สอน นายพลาธิป เกียรติวรรธนะ
๘. สถานภาพของวิชา วิชาพื้นฐาน
๙. จำนวนคาบ/สัปดาห์ ๓ คาบ/สัปดาห์
๑๐. คำอธิบายรายวิชา
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง เข้าใจความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัย จับใจความสำคัญและรายละเอียดของสิ่งที่อ่าน แสดงความคิดเห็นและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด ย่อความ เขียนรายงานจากสิ่งที่อ่านได้ วิเคราะห์ วิจารณ์ อย่างมีเหตุผล ลำดับความอย่างมีขั้นตอนและความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน รวมทั้งประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
เขียนสื่อสารด้วยลายมือที่อ่านง่าย ชัดเจน ใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับภาษา เขียนคำขวัญ คำคม คำอวยพรในโอกาสต่างๆ โฆษณา คติพจน์ สุนทรพจน์ ชีวประวัติ อัตชีวประวัติ และประสบการณ์ต่างๆ เขียนย่อความ จดหมายกิจธุระ แบบกรองสมัครงาน เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์และแสดงความรู้ ความคิดความโต้แย้งอย่างมีเหตุผล เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและเขียนโครงงาน
พูดแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินสิ่งที่ได้จากการฟังและการดู นำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีศิลปะในการพูด พูดในโอกาสต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และพูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล น่าเชื่อถือ มีมารยาทในการฟัง ดู และพูด
เข้าใจและใช้คำราชาศัพท์ คำบาลีสันสกฤต คำภาษาถิ่น คำภาษาต่างประเทศ คำทับศัพท์และคำศัพท์บัญญัติในภาษาไทย วิเคราะห์ความแตกต่างในภาษาพูด ภาษาเขียน โครงสร้างของประโยครวม ประโยคซ้อน ลักษณะภาษาที่เป็นทางการ กึ่งทางการ และไม่เป็นทางการ แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ กาพย์ และโคลงสี่สุภาพ
สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน วิเคราะห์ตัวละครสำคัญ วิถีชีวิตไทย และคุณค่าที่ได้รับจากวรรณคดี วรรณกรรม และบทอาขยาน พร้อมทั้งสรุปความรู้ ข้อคิด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
๑๑. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
มาตรฐานตัวชี้วัด
ท ๑.๑ (ม.๓/๑) อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ (ม.๓/๒) ระบุความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
ท ๑.๑ (ม.๓/๓) ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ (ม.๓/๔) อ่านเรื่องต่างๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิดผังความคิด บันทึก ย่อความ และรายงาน
ท ๑.๑ (ม.๓/๕) วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น
ท ๑.๑ (ม.๓/๖) ประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ (ม.๓/๗) วิจารณ์ความสมเหตุสมผลการลำดับความ และความเป็นไปได้ของเรื่อง
ท ๑.๑ (ม.๓/๘) วิเคราะห์เพื่อแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ (ม.๓/๙) ตีความและประเมินคุณค่าแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลาย เพื่อนำไปใช้แกปัญหาในชีวิต
ท ๑.๑ (ม.๓/๑๐) มีมารยาทในการอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐานตัวชี้วัด
ท ๒.๑ (ม.๓/๑) คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
ท ๒.๑ (ม.๓/๒) เขียนข้อความโดยใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องตามระดับภาษา
ท ๒.๑ (ม.๓/๓) เขียนชีวประวัติหรืออัตชีวประวัติโดยเล่าเหตุการณ์ ข้อคิดเห็นและทัศนคติในเรื่องต่างๆ
ท ๒.๑ (ม.๓/๔) เขียนย่อความ
ท ๒.๑ (ม.๓/๕) เขียนจดหมายกิจธุระ
ท ๒.๑ (ม.๓/๖) เขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็น และโต้แย้งอย่างมีเหตุผล
ท ๒.๑ (ม.๓/๗) เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือโต้แย้งในเรื่องต่างๆ
ท ๒.๑ (ม.๓/๘) กรอกแบบสมัครงานพร้อมเขียนบรรยายเกี่ยวกับความรู้และทักษะของตนเองที่เหมาะสมกับงาน
ท ๒.๑ (ม.๓/๙) เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและโครงงาน
ท ๒.๑ (ม.๓/๑๐) มีมารยาทในการเขียน

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
มาตรฐานตัวชี้วัด
ท ๓.๑ (ม.๓/๑) แสดงความคิดเห็นและประเมินเรื่องจากการฟังและการดู
ท ๓.๑ (ม.๓/๒) วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่ฟังและดูเพื่อนำข้อคิดมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
ท ๓.๑ (ม.๓/๓) พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา
ท ๓.๑ (ม.๓/๔) พูดในโอกาสต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ท ๓.๑ (ม.๓/๕) พูดโน้มน้าวโดยนำเสนอหลักฐานตามลำดับเนื้อหาอย่างมีเหตุผล
ท ๓.๑ (ม.๓/๖) มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษา
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
มาตรฐานตัวชี้วัด
ท ๔.๑ (ม.๓/๑) จำแนกและใช้คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
ท ๔.๑ (ม.๓/๒) วิเคราะห์โครงสร้างประโยคซับซ้อน
ท ๔.๑ (ม.๓/๓) วิเคราะห์ระดับภาษา
ท ๔.๑ (ม.๓/๔) ใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
ท ๔.๑ (ม.๓/๕) อธิบายความหมายคำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ
ท ๔.๑ (ม.๓/๖) แต่งบทร้อยกรอง

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐานตัวชี้วัด
ท ๕.๑ (ม.๓/๑) สรุปเนื้อหาวรรณคดี วรรณกรรมและวรรณกรรมท้องถิ่นในระดับที่ยากยิ่งขึ้น
ท ๕.๑ (ม.๓/๒) วิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
ท ๕.๑ (ม.๓/๓) สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงท ๕.๑ (ม.๓/๔) ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจและนำไปใช้อ้างอิง


๑๒.หน่วยการเรียนรู้
การอ่าน ท ๑.๑ (ม.๓/๑),(ม.๓/๒),(ม.๓/๓), (ม.๓/๔(ม.๓/๕),
(ม.๓/๖),(ม.๓/๗),(ม.๓/๘),(ม.๓/๙),(ม.๓/๑๐)

การอ่านออกเสียง ประกอบด้วย
- บทร้อยแก้วที่เป็นบทความทั่วไปและบทความปกิณกะ
- บทร้อยกรอง เช่น กลอนบทละคร กลอนเสภา กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และโคลงสี่สุภาพ

การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
- วรรณคดีในบทเรียน
- ข่าวและเหตุการณ์สำคัญ
- บทความ
- สารคดี
- สารคดีเชิงประวัติ
- ตำนาน
- งานเขียนเชิงสร้างสรรค์
- เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระอื่นการอ่านตามความสนใจ เช่น
- หนังสืออ่านนอกเวลา
- หนังสืออ่านตามความสนใจและตามวัยของนักเรียน
- หนังสืออ่านที่ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนด


การเขียน ท ๒.๑ (ม.๓/๑),(ม.๓/๒),(ม.๓/๓),(ม.๓/๔)(ม.๓/๕),
(ม.๓/๖),(ม.๓/๗),(ม.๓/๘),(ม.๓/๙), (ม.๓/๑๐)
การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนอักษรไทย การเขียนข้อความตามสถานการณ์และโอกาสต่างๆ เช่น
- คำอวยพรในโอกาสต่างๆ
- คำขวัญ
- คำคม
- โฆษณา
- คติพจน์
- สุนทรพจน์
การเขียนอัตชีวประวัติหรือชีวประวัติ
การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน ประวัติ ตำนาน สารคดีทางวิชาการ พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท จดหมายราชการ
การเขียนจดหมายกิจธุระ
- จดหมายเชิญวิทยากร
- จดหมายขอความอนุเคราะห์
- จดหมายแสดงความขอบคุณ
การเขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็น และโต้แย้งในเรื่องต่างๆ
การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือโต้แย้งจากสื่อต่างๆ เช่น
- บทโฆษณา
- บทความทางวิชาการ
การกรอกแบบสมัครงาน การเขียนรายงาน ได้แก่
- การเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
- การเขียนรายงานโครงงาน

การฟัง การดู และการพูด ท ๓.๑ (ม.๓/๑),(ม.๓/๒),(ม.๓/๓)(ม.๓/๔),(ม.๓/๕),(ม.๓/๖)
การพูดแสดงความคิดเห็นและประเมินเรื่องจากการฟังและการดู การพูดวิเคราะห์ วิจารณ์จากเรื่องที่ฟังและดู การพูดรายงานการศึกษาค้าคว้าเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพูดในโอกาสต่างๆ เช่น
- การพูดโต้วาที
- การอภิปราย
- การพูดโน้มน้าว

หลักและการใช้ภาษา ท ๔.๑ (ม.๓/๑),(ม.๓/๒),(ม.๓/๓),(ม.๓/๔),(ม.๓/๕),(ม.๓/๖)
- คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
- ประโยคซับซ้อน
- ระดับภาษา
- คำทับศัพท์
- คำศัพท์บัญญัติ
- คำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ
- โคลงสี่สุภาพ

วรรณคดีและวรรณกรรม ท ๕.๑ (ม.๓/๑),(ม.๓/๒),(ม.๓/๓),(ม.๓/๔).
วรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่น
- ศาสนา
- ประเพณี
- พิธีกรรม
- สุภาษิตคำสอน
- เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
- บันเทิงคดี
การวิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรม
บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ

รวมเวลาเรียน/คะแนนเก็บ
สอบกลางภาค ๒๐ คะแนน
สอบปลายภาค ๒๐ คะแนน
คะแนนเก็บ ๖๐ คะแนน
รวม ๑๐๐ คะแนน

๑๓. กระบวนการจัดการเรียนรู้
๑. นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
๒. นักเรียนสืบค้นข้อมูลความรู้จากแหล่งการเรียนรู้
๓. นักเรียนศึกษาจากใบความรู้ ใบงาน
๔. นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม

๑๔. การวัดและการประเมินผล อัตราส่วนคะแนน ๖๐:๔๐
๑. ประเมินจากการร่วมกิจกรรมและการทำงานร่วมกับเพื่อน ๒๐ คะแนน
๒. ประเมินจากแบบฝึกหัด กิจกรรมต่างๆ แบบทดสอบ ๒๐ คะแนน
๓. ประเมินจากคุณภาพของงานจากสมุด ๒๐ คะแนน
๔. ประเมินจากแบบทดสอบกลางภาค ๒๐ คะแนน
๕. ประเมินจากแบบทดสอบกลางภาค ๒๐ คะแนน
รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ คะแนน

๑๕. แหล่งเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้
๑. หนังสือแบบเรียนภาษาไทยวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓
๒. หนังสือแบบเรียนภาษาไทยวิวิธภาษา ม.๓
๓. หนังสืออ่านประกอบ
- วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี
- วรรณคดีเรื่องบทพากย์เอราวัณ
- อิศรญาณภาษิต
- พระบรมราโชวาท
- เห็นแก่ลูก
- หลักภาษาไทย
- การใช้ภาษา
- คติชาวบ้าน
๔. สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
๕. ใบความรู้ ใบงาน แบบฝึกหัด
๖. แผนภาพ แผนภูมิ

๑๖. งานที่มอบหมาย
การศึกษารสในวรรณคดี ในวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
ส่งภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.รักชาติ ๑๕ คะแนน
๒.ซื่อสัตย์ ๑๕ คะแนน
๓.มีวินัย รับผิดชอบ ๑๕ คะแนน
๔.ใฝ่เรียนรู้ ๑๕ คะแนน
๕.อยู่อย่างพอเพียง ๑๐ คะแนน
๖.มุ่งมั่นการทำงาน ๑๐ คะแนน
๗.รักความเป็นไทย ๑๐ คะแนน
๘.มีจิตสาธารณะ ๑๐ คะแนน
รวม ๑๐๐ คะแนน
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑.ความสามารถในการสื่อสาร ๒๐ คะแนน
๒.ความสามารถในการคิด ๒๐ คะแนน
๓.ความสามารถในการแก้ปัญหา ๒๐ คะแนน
๔.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๒๐ คะแนน
๕.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ๒๐ คะแนน
รวม ๑๐๐ คะแนน

ทดสอบ "ภาษาสวยด้วยการออกเสียง"

ทดสอบ "ภาษาสวยด้วยการออกเสียง"

ออกเสียง...สำเนียงชัด

ออกเสียง...สำเนียงชัด

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาษาสวยด้วยการออกเสียง

แม่เรไรร่ำร้องจะไปงานรื่นเริงที่สโมสรสราญรมย์ หล่อนรีบเร่งทำงานอย่างลุกลี้ลุกลน ไม่รีรอให้เพื่อนมาร้องเรียกจนล้มลุกคลุกคลาน จึงรีบลุกอย่างรวดเร็ว เหลียวหน้าเหลียวหลังจนพบแม่มาลียืนหัวเราะระริกระรี้ แถมแลบลิ้นหลอกล้อเลียน แม่เรไรจึงเดินเลี่ยงลัดเลาะริมรั้ว ลงเรือข้ามฟากไปยืนรอคู่รักชื่อนายล้ำเลิศ ซึ่งแต่งตัวหล่อเหลาแล้วชวนกันไปลีลาศที่สโมสรสราญรมย์ด้วยความรื่นเริง

ชาติชายเป็นช่างไม้ที่เชี่ยวชาญในอาชีพเชิงช่าง งานของเขาคือนำไม้ฉำฉามาทำเป็นชั้น ชาติชายพูดจาฉะฉาน แต่ไม่มีอารมณ์ฉุนเฉียวและไม่เป็นคนโฉ่งฉ่าง
ครั้งหนึ่งชาติชายไปเที่ยวเชียงรายพบรายการแสดงของช้างเชือกหนึ่ง ชื่อแช่มช้อย มันเป็นช้างที่ชาญฉลาดอย่างน่าชื่นชม

นักท่องเที่ยวเดินทางไม่ทนทุกข์
ทางที่บุกบั่นไปไม่ท้อถอย
ทั้งทนทานท้าทายท้องทุ่งดอย
ทุกที่คอยทักทายทุกท่านเธอ
ไปทับเที่ยงพบทับทิมที่ทางเท้า
ในตอนเช้าทันทีมิมีเผลอ
เข้าท้องทุ่งออกที่จึงพบเธอ
ทำละเมอทึกทักรู้เท่าทัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น